LECTURE

Lecture
บทที่ 5 การออกแบบเนวิเกชั่น
ความสำคัญของระบบเนวิเกชั่น
     การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัว  โดยไม่หลงทาง  โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน  ได้ผ่านที่ใดมาบ้างและควรจะไปไหนต่อ
ระบบเนวิเกชั่นที่มีประสิทธิภาพ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.เข้าใจง่าย
2.มีความสม่ำเสมอ
3.มีการตอบสนองต่อผู้ใช้
4.มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการใช้งาน
5.นำเสนอหลายทางเลือก
6.มีขั้นตอนและประหยัดเวลา
7.มีรูปแบบที่สื่อความหมาย
8.มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
9.เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บ
10.สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้

กระบวนการพัฒนา เว็บไซด์
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture) เป็นพื้นฐานในการออกแบบ เว็บไซด์ที่ดี
การพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง และสามารถแบ่งเป็น Phase ได้ดังนี้
            Phase 1: สำรวจปัจจัยสำคัญ (Research)
            Phase 2: พัฒนาเนื้อหา (Site Content)
            Phase 3:พัฒนาโครงสร้างเว็บไซด์ (Site Structure)
            Phase 4:ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ (Visual Design)
            Phase 5:พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)

บทที่ 7 การออกแบบเว็บไซด์ให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซด์
          -เบราเซอร์ที่ใช้ คือ โปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งตัวอักษร,รูปภาพ
           และภาพเคลื่อนไหว

          -ระบบปฎิบัติการของคอมพิวเตอร์ มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก แต่ละระบบจะมีความ
            แตกต่างกันในเรื่องของชนิดและเบราเซอร์ที่ใช้ได้
          -ความละเอียดของหน้าจอ มีหลายขนาด ไม่ขึ้นกับขนาดของมอนิเตอร์ แต่ขึ้นกับการ์ดแสดงผล
          -จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้ ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth 
            หรือ color depth
          -ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้ เบราเซอร์ จะแสดงฟอนต์ที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก็
            ต่อเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมี ฟอนต์เหล่านั้นติดตั้งอยู่ในเครื่อง การตรวจสอบฟอนต์ทำได้โดย
            เข้าไปที่โฟลเดอร์ C:\Windows\Fonts
          -ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดง
           ผลของเว็บ ความเร็วของอินเตอร์เน็ตมีหลายระดับ
          -ขนาดหน้าต่างเบราเซอร์ มีโอกาสถูกปรับเปลี่ยนเป็นขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตามความประสงค์
           ของผู้ใช้
          -ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี ผู้ใช้สามารถปรับระดับความสว่างและความต่างของโทน
          สีจากมอนิเตอร์ได้

บทที่8 เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์

สีสันเป็นสิ่งสำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น
          -การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับตัวอักษร บางครั้งลำบากในการอ่าน
          -การใช้สีมากเกินอาจสร้างความสับสนให้ผู้อ่านได้
          -การใช้สีที่กลมกลืน ช่วยให้น่าดูมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          -ชักนำสายตาทุกบริเวณในหน้าเว็บ
          -เชื่อมโยงบริเวณที่ไดรับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          -แบ่งบริเวณต่างๆออกจากกัน
          -ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
          -สร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บ
          -สร้างระเบียบ
          -ส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ
การผสมสี มี 2 แบบ
          -การผสมแบบบวก เป็นรูปแบบการผสมของแสงไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ
          -การผสมแบบลบ ไม่เกี่ยวข้องกับแสงแต่เกี่ยวกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple Color Schemes)- ชุดสีร้อน
          - ชุดสีเเบบเดียว
          - ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน
          - ชุดสีตรงข้ามเคียง
          - ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน
          - ชุดสีเย็น
          - ชุดสีเเบบสามเส้า
          - ชุดสีตรงข้าม
สีกับอารมณ์ ความรู้สึก เเละความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ

สีเเดง เเสดง ถึงพลัง อำนาจความโมโห ความก้าวร้าว
สีน้ำเงิน เเสดง ถึงความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ปลอดภัย
สีเขียว เเสดงถึง ธรรมชาต สุขภาพ ความยินดี
สีเหลือง  เเสดงถึง ความสดใส ร่าเริง การมองโลกในเเง่ดี ความหวัง ความอบอุ่น
สีม่วง  เเสดงถึง ความสูงส่ง ความสร้างสรรค์ ความรอบรู้ ความแปลกใหม่
สีส้ม  เเสดงถึง กำลังความสามารถ ความเข้มเเข็ง กระตือรือร้น
สีน้าตาล เเสดงถึง ความเรียบง่าย ความสะดวกสบาย ความมั่นคง เชื่อถือได้
สีเทา แสดงถึง ความสุภาพ ความเป็นไปได้ ความมั่นคง
สีขาว เเสดงถึง ความบริสุทธฺ์ ความไร้เดียงสา ความรัก ความฉลาด
สีดำ เเสดงถึง อำนาจ ความฉลาด ความเป็นเลิศ ความสุขม รอบคอบ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น